ข้อสอบ

วิชา สังคมศึกษา ประวัติศาสตร์ ม.2
จำนวน 30 ข้อ
จำนวนทำข้อสอบ 104 ครั้ง
ข้อสอบ
ข้อที่
ข้อสอบ
ข้อที่
ข้อสอบ
1
ข้อใดจัดเป็นหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรทั้งหมด (ตอบถูก 42.31%)
 เงินตรา คำบอกเล่า
เลือกคำตอบ ข้อที่ 1
 วิหาร พงศาวดาร
 จารึก โครงกระดูก
 สมุดข่อย คัมภีร์ใบลาน
2
ข้อใดกล่าวถึงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ถูกต้อง (ตอบถูก 31.73%)
 จารึกทุกหลักเชื่อถือได้ทั้งหมด
เลือกคำตอบ ข้อที่ 2
 หลักฐานปฐมภูมิมีอายุเก่าแก่น้อย
 หลักฐานที่ดีต้องเป็นลายลักษณ์อักษร
 บทความทางวิชาการเป็นหลักฐานทุติยภูมิ
3
ข้อใดเป็นขั้นตอนสำคัญอย่างยิ่งของวิธีการทางประวัติศาสตร์เพื่อสร้างองค์ความรู้สู่ชุมชน (ตอบถูก 42.31%)
 การรวบรวมหลักฐาน
เลือกคำตอบ ข้อที่ 3
 การสังเคราะห์ข้อมูลจากหลักฐาน
 ประเมินความถูกต้องจากหลักฐาน
 การนำเสนอเหตุการณ์ด้วยหลักฐาน
4
หากนักเรียนต้องการศึกษาประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ควรศึกษาจากหลักฐานลายลักษณ์อักษรข้อใดที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุด (ตอบถูก 25.96%)
 จดหมายเหตุลาลูแบร์
เลือกคำตอบ ข้อที่ 4
 พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับ วัน วลิต
 พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐฯ
 พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)
5
ข้อใดไม่ถือเป็นหลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานปฐมภูมิ (ตอบถูก 37.50%)
 บันทึกความทรงจำ
เลือกคำตอบ ข้อที่ 5
 บทความทางวิชาการ
 กฎหมายตราสามดวง
 จดหมายเหตุลาลูแบร์
6
วิธีการทางประวัติศาสตร์มีขั้นตอนหลายขั้นตอน ขั้นตอนใดถือเป็นขั้นตอนสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์มากที่สุด (ตอบถูก 29.81%)
 การรวบรวมหลักฐาน
เลือกคำตอบ ข้อที่ 6
 การเรียบเรียงหรือนำเสนอ
 การกำหนดหัวข้อในการศึกษา
 การวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล
7
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง (ตอบถูก 41.35%)
 กฎหมายตราสามดวงเป็นหลักฐานชั้นต้น
เลือกคำตอบ ข้อที่ 7
 จดหมายเหตุลาลูแบร์เป็นหลักฐานปฐมภูมิ
 เจดีย์ยุทธหัตถีดอนเจดีย์เป็นหลักฐานชั้นรอง
 หนังสือบันทึกเรื่องราวในอดีตเป็นหลักฐานทุติยภูมิ
8
ความสำคัญของการตีความทางประวัติศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร (ตอบถูก 34.62%)
 เพื่อให้เข้าใจง่ายเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่
เลือกคำตอบ ข้อที่ 8
 เพื่ออธิบายความถูกต้องหรือความน่าเชื่อถือได้
 เพื่อวิเคราะห์เหตุการณ์ที่ยกมาให้เห็นความสำคัญ
 เพื่อให้เปรียบเทียบศักราชได้เหมาะสมและถูกต้อง
9
ข้อใดแสดงถึงความจริงเกี่ยวกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ (ตอบถูก 37.50%)
 ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 ใน พ.ศ. 2112
เลือกคำตอบ ข้อที่ 9
 คนไทยอ่อนแอจึงได้เสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2310
 จำนวนทหารน้อยทำให้ต้องเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2112
 ผู้คนอ่อนแอและขาดความสามัคคีจึงเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2310
10
ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มีความหมายตรงกับข้อใด (ตอบถูก 28.85%)
 ข้อมูลที่ผู้เขียนได้บันทึกไว้เพื่อเป็นหลักฐาน
เลือกคำตอบ ข้อที่ 10
 ข้อมูลที่ได้จัดพิมพ์เผยแพร่ให้ประชาชนได้รับรู้
 ข้อมูลที่เกิดจากความเข้าใจของผู้บันทึกเรื่องราวต่างๆ
 ข้อมูลจากหลักฐานต่างๆอาจตรงกันหรือไม่ตรงกันก็ได้
11
การศึกษาบันทึกจดหมายของบุคคลเกี่ยวกับเรื่องราว เหตุการณ์ รายละเอียดต่างๆแม้จะถือเป็นหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ที่สำคัญ แต่ควรคำนึงถึงข้อจำกัดในข้อใด (ตอบถูก 45.19%)
 บุคคลผู้บันทึกเรื่องราว
เลือกคำตอบ ข้อที่ 11
 ช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์
 สถานที่ที่ปรากฏเหตุการณ์
 ความเห็นและน่าเชื่อถือของเหตุการณ์
12
ข้อใดไม่ใช่ข้อพิจารณาการประเมินคุณค่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ (ตอบถูก 26.92%)
 ช่วงเวลาที่จัดหลักฐาน
เลือกคำตอบ ข้อที่ 12
 การศึกษาภูมิหลังของผู้ทำ
 การแสดงความคิดของผู้ทำ
 เป็นของแท้หรือของทำเลียนแบบ
13
ถ้านักเรียนได้อ่านบทความหรือหนังสือประวัติศาสตร์ ควรมีแนวทางการศึกษาอย่างไร (ตอบถูก 49.04%)
 เชื่อเรื่องราวต่างๆที่ผู้เขียนถ่ายทอดในหนังสือ
เลือกคำตอบ ข้อที่ 13
 ตั้งใจอ่านบทความอย่างละเอียดพร้อมจดบันทึก
 ศึกษาเกี่ยวกับประวัติผู้เขียนผู้แต่งอย่างละเอียด
 รู้จักแยกแยะข้อเท็จจริงและความคิดเห็นที่ได้จากการอ่าน
14
ข้อใดกล่าวได้เหมาะสมและถูกต้อง (ตอบถูก 38.46%)
 นักโบราณคดีพบสมุดบันทึกเก่าจึงเชื่อว่าน่าจะอยู่ในยุคหิน
เลือกคำตอบ ข้อที่ 14
 นักท่องเที่ยวพบกำไลกระดูกจึงเชื่อว่าน่าจะอยู่ในยุคหินใหม่
 นักธรณีวิทยาพบสร้อยคอเงินจึงเชื่อว่าน่าจะอยู่ในยุคหินกลาง
 นักสำรวจพบเสื้อผ้าเก่าที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งจึงเชื่อว่าเกิดในยุคหินเก่า
15
เพราะเหตุใดจึงควรวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากหลักฐาน (ตอบถูก 43.27%)
 เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องราว
เลือกคำตอบ ข้อที่ 15
 เพื่อให้เกิดการแสดงความคิดเห็น
 เพื่อให้เกิดความแตกต่างของข้อมูล
 เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือและถูกต้อง
16
ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของการตีความทางประวัติศาสตร์ (ตอบถูก 52.88%)
 เพื่อช่วยอธิบายหลักฐานให้เข้าใจง่ายขึ้น
เลือกคำตอบ ข้อที่ 16
 เพื่อช่วยเป็นข้อมูลคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคต
 เพื่อช่วยอธิบายหลักฐานให้มีความเป็นจริงมากขึ้น
 เพื่อตีความ วิเคราะห์ความสำคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
17
ข้อใดกล่าวถึงความสำคัญของการสังเคราะห์ข้อมูล (ตอบถูก 37.50%)
 เพื่อแยกข้อมูลส่วนข้อเท็จจริงออกจากหลักฐาน
เลือกคำตอบ ข้อที่ 17
 เพื่อแยกข้อมูลที่มีข้อเท็จจริงตรงกันหรือคัดค้านกัน
 เพื่อจัดรวมข้อมูลที่เป็นเรื่อง ประเด็นหรือหัวข้อเดียวกัน
 เพื่อแยกข้อมูลต่อเนื่องที่เป็นความเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์
18
หากต้องการทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทย - จีน ในยุคจักรพรรดิเฉียนหลง ควรวิเคราะห์จากสิ่งใด (ตอบถูก 27.88%)
 เอกสารสมัยธนบุรี
เลือกคำตอบ ข้อที่ 18
 เอกสารสมัยอยุธยา
 เอกสารสุโขทัย
 เอกสารสมัยรัตนโกสินทร์
19
สงกรานต์ต้องการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยธนบุรีจากหลักฐานชั้นต้นที่น่าเชื่อถือ สงกรานต์ควรจะศึกษาจากหลักฐานประวัติศาสตร์ข้อใด (ตอบถูก 48.08%)
 จดหลายเหตุลาลูแบร์
เลือกคำตอบ ข้อที่ 19
 จดหมายเหตุราชวงศ์หมิง
 รายงานการค้าของบริษัทต่างชาติ
 พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)
20
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในข้อใดไม่ใช่หลักฐานขั้นทุติยภูมิ (ตอบถูก 40.38%)
 วารสาร
เลือกคำตอบ ข้อที่ 20
 กฎหมายตราสามดวง
 หนังสือพิมพ์
 ภาษาศาสตร์
21
หลักฐานที่เด่นมากในเรื่องของรายละเอียดและความถูกต้องของเวลา คือหลักฐานใด (ตอบถูก 33.65%)
 พงศาวดาร
เลือกคำตอบ ข้อที่ 21
 จดหมายเหตุ
 ตำนาน
 จารึก
22
บิดาแห่งประวัติศาสตร์ชาติไทย คือใคร (ตอบถูก 29.81%)
 พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
เลือกคำตอบ ข้อที่ 22
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
 ศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช
23
ลักษณะนิสัยใด ที่มีความจำเป็นน้อยสำหรับนักประวัติศาสตร์ (ตอบถูก 50.96%)
 ชอบวาดภาพ
เลือกคำตอบ ข้อที่ 23
 ชอบจดบันทึก
 ชอบค้นหา
 ชอบสังเกต
24
เรื่องราวในประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นมาแล้วจะมีความน่าเชื่อถือหากเป็นกรณีใด (ตอบถูก 49.04%)
 ผู้เขียนเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ
เลือกคำตอบ ข้อที่ 24
 มีการเรียบเรียงอย่างสละสลวย
 มีหลักฐานอ้างอิงสนับสนุน
 ผู้เขียนเป็นราชนิกูล
25
ถ้ามีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาประเทศไทย แล้วเขียนหนังสือบรรยายว่าประเทศไทยล้าหลัง ด้อยพัฒนา เพราะยังมีการกินอาหารด้วยมือหรือไม่สวมเสื้อผ้า นักเรียนคิดว่า ข้อความนี้จะใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในอนาคตได้หรือไม่ (ตอบถูก 57.69%)
 ได้ แต่ต้องมีการตีความหลักฐาน
เลือกคำตอบ ข้อที่ 25
 ได้ เพราะเป็นหลักฐานชั้นต้น
 ไม่ได้ เพราะผู้เขียนไม่ใช่คนไทย
 ไม่ได้ เพราะเป็นหลักฐานเท็จ
26
ข้อใดเป็นขั้นตอนแรกของวิธีการทางประวัติศาสตร์ (ตอบถูก 60.58%)
 การเรียบเรียงหรือการนำเสนอ
เลือกคำตอบ ข้อที่ 26
 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน
 การกำหนดหัวเรื่องที่จะศึกษา
 การรวบรวมหลักฐาน
27
บันทึกเหตุการณ์ของ วัน วลิต ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในสมัยอยุธยา เป็นหลักฐานประเภทใด (ตอบถูก 38.46%)
 หลักฐานชั้นรอง - ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
เลือกคำตอบ ข้อที่ 27
 หลักฐานชั้นต้น - ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
 หลักฐานชั้นรอง - เป็นลายลักษณ์อักษร
 หลักฐานชั้นต้น - เป็นลายลักษณ์อักษร
28
เรื่องราวที่ปรากฏในพงศาวดารจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไรเป็นส่วนใหญ่ (ตอบถูก 59.62%)
 พระราชกรณียกิจของกษัตริย์
เลือกคำตอบ ข้อที่ 28
 การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
 ความเป็นอยู่ของไพร่ฟ้า
 สงครามกับเพื่อนบ้าน
29
การจะยอมรับในเหตุการณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพว่ามีอยู่จริงหรือไม่ต้องได้รับการยืนยันจากหลักฐานสำคัญชนิดใด (ตอบถูก 12.50%)
 วรรณคดี
เลือกคำตอบ ข้อที่ 29
 หนังสือพิมพ์
 พระราชพงศาวดาร
 บทความทางด้านประวัติศาสตร์
30
เพราะเหตุใด จึงต้องมีการประเมินคุณค่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ (ตอบถูก 51.92%)
 หลักฐานอาจมากหรือน้อย
เลือกคำตอบ ข้อที่ 30
 หลักฐานอาจมีหรือไม่มี
 หลักฐานอาจจริงหรือเท็จ
 หลักฐานอาจเก่าหรือใหม่
ย้อนกลับ